วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในการบริหารงานและบริหารตัวบุคคล

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายมหาชน มีบทบัญญัติถึงขั้นจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนใดกระทำความผิด กฎหมายมิได้กำหนดให้นำนิติบุคคลมาลงโทษ แต่ให้นำตัวบุคคลที่สั่งการหรือกระทำผิดกฎหมายมาลงโทษ รวมทั้งผู้ที่ไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บัญชีและเจ้าหน้าที่การเงิน ที่จะต้องเข้าใจข้อกำหนดของกฎหมายฉบับนี้ เพราะบุคคลใดก็ตามที่กระทำความผิดจะอ้างเหตุเพราะไม่รู้กฎหมาย มาบรรเทาโทษได้

โดยวิทยากรที่ให้การอบรมเป็นตำรวจที่มีประสบการณ์ด้านสืบสวนสอบสวนอย่างมาก ที่จะมาให้ความรู้กับท่าน ที่ไม่มีที่ไหนกล้าเปิดเผยให้ท่านทราบ !

ผลที่ได้จากการผ่านการอบรม

  • เข้าใจความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น ค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา การทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย
  • ทราบความรับผิดชอบของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
  • ทราบสิทธิของลูกจ้างที่พึ่งมี ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งกฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่นๆ
  • เข้าใจข้อกำหนดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เกี่ยวกับการจ้างและเลิกจ้าง
  • ทราบรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน เช่น เวลาการทำงาน การทำงานล่วงเวลา วันหยุดตามประเพณี วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน การลาป่วย ลากิจ ลาคลอด ลารับราชการ การจัดวันหยุดพักผ่อน อัตราการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา การจ่ายเงินชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถกระทำการใดก็ตาม ที่ไม่ผิดต่อกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน

ข้อบังคับเบื้องต้นก่อนการเรียน


ไม่มี แต่หากมีประสบการณ์ด้านทำงานสนามจริงมาแล้ว จะทำให้ท่านเข้าใจและซาบซึ่งกับหลักสูตรนี้มากยิ่งขึ้น

ระยะเวลา


2 วัน

เมื่อจบการอบรมนี้แล้ว สามารถที่จะเข้าใจได้ดังนี้


สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินกิจการ โดยไม่ผิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพราะกฎหมายกำหนดให้นำตัวบุคคลมาลงโทษไม่ใช่นำนิติบุคคลมาลงโทษ และเป็นโทษที่หนัก ไม่สามารถอ้างเหตุไม่รู้กฎหมาย บรรเทาโทษได้

เนื้อหาหลักสูตร

  • กรณีที่บริษัทใดกระทำผิด ให้ลงโทษบุคคลที่สั่งการ หรือกระทำความผิด ถึงขั้นจำคุก หรือถูกปรับ
  • ทำไมหัวหน้างานจึงมีสถานภาพเป็นนายจ้างด้วย
  • กิจการที่ใช้วิธีเหมาค่าแรง ก็เป็นนายจ้างด้วย
  • ความหมายของคำที่ใช้ในกฎหมายนี้เป็นอย่างไร เช่น ค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา การทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เป็นต้น
  • แม้นายจ้างได้ประโยชน์ตามกฎหมายนี้ ก็ห้ามตัดสิทธิลูกจ้างตามกฎหมายอื่น
  • ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินประกัน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ฯลฯ แม้มีเหตุผลต้องเสีย ดอกเบี้ย 15% ต่อปี หากจงใจไม่จ่าย เสียเงินเพิ่ม 15% ทุก 7 วัน
  • กฎหมายห้ามเรียกเก็บเงินประกันกรณีใด และกรณีใดเรียกเก็บเงินประกันได้ และประกาศกระทรวงเรื่องดังกล่าวมีอย่างไร
  • เปลี่ยนตัวนายจ้างได้ แต่เปลี่ยนสิทธิให้ลูกจ้างน้อยลงไม่ได้
  • เลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ามีกรณีใด และแก้ปัญหาอย่างไร
  • เงื่อนไขการบอกกล่าวล่วงหน้ามีอย่างไร
  • ถ้าไม่ระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง จะยกเหตุไม่จ่ายค่าจ้างไม่ได้
  • ชั่วโมงทำงานปกติของงานธรรมดา และงานอันตราย แตกต่างกันอย่างไร
  • ห้ามมีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม
  • ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ยกเว้นกรณีใด
  • นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้าง 8 ประเภทมาทำงานในวันหยุดได้ คืองานใดบ้าง
  • ก่อนทำงานล่วงเวลา จะต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อน
  • วันหยุดตามประเพณี 3 วัน ได้แก่วันใดบ้าง
  • ห้ามทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด ในงานอันตราย ห้ามทุกกรณีหรือไม่
  • ลูกจ้างลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง แต่ถ้าลามากนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้
  • ให้ลูกจ้างลาทำหมัน ต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่
  • ลากิจ สุดแต่ที่บังคับ หรือนายจ้างกำหนด ไม่ให้ก็ผิดกฎหมายใช่ไหม
  • ลารับราชการ ได้ค่าจ้างตามวันในหมายเรียกหรือตามวันที่ขอลา
  • ลาเพื่อคลอดบุตร มิใช่ลาก่อนคลอด / หลังคลอด ใช่หรือไม่
  • ลาเพื่อฝึกอบรมฯ จ่ายค่าจ้างหรือไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้ใช่ไหม
  • ห้ามลูกจ้างมีครรภ์ทำงานบางเวลา หรือติดไปกับยานพาหนะ ฝ่าฝืนหัวหน้างานถูกจำคุก 6 เดือน ปรับ 100,000 บาท
  • วันหยุดตามกฎหมายแรงงานมี 3 วัน วันใดบ้าง
  • ไม่ได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อน จะต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าทำงานในวันหยุดให้หรือไม่