วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในการบริหารงานและบริหารตัวบุคคล

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายมหาชน มีบทบัญญัติถึงขั้นจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนใดกระทำความผิด กฎหมายมิได้กำหนดให้นำนิติบุคคลมาลงโทษ แต่ให้นำตัวบุคคลที่สั่งการหรือกระทำผิดกฎหมายมาลงโทษ รวมทั้งผู้ที่ไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บัญชีและเจ้าหน้าที่การเงิน ที่จะต้องเข้าใจข้อกำหนดของกฎหมายฉบับนี้ เพราะบุคคลใดก็ตามที่กระทำความผิดจะอ้างเหตุเพราะไม่รู้กฎหมาย มาบรรเทาโทษได้

โดยวิทยากรที่ให้การอบรมเป็นตำรวจที่มีประสบการณ์ด้านสืบสวนสอบสวนอย่างมาก ที่จะมาให้ความรู้กับท่าน ที่ไม่มีที่ไหนกล้าเปิดเผยให้ท่านทราบ !

ผลที่ได้จากการผ่านการอบรม

  • เข้าใจความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น ค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา การทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย
  • ทราบความรับผิดชอบของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
  • ทราบสิทธิของลูกจ้างที่พึ่งมี ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งกฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่นๆ
  • เข้าใจข้อกำหนดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เกี่ยวกับการจ้างและเลิกจ้าง
  • ทราบรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน เช่น เวลาการทำงาน การทำงานล่วงเวลา วันหยุดตามประเพณี วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน การลาป่วย ลากิจ ลาคลอด ลารับราชการ การจัดวันหยุดพักผ่อน อัตราการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา การจ่ายเงินชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถกระทำการใดก็ตาม ที่ไม่ผิดต่อกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน

ข้อบังคับเบื้องต้นก่อนการเรียน


ไม่มี แต่หากมีประสบการณ์ด้านทำงานสนามจริงมาแล้ว จะทำให้ท่านเข้าใจและซาบซึ่งกับหลักสูตรนี้มากยิ่งขึ้น

ระยะเวลา


2 วัน

เมื่อจบการอบรมนี้แล้ว สามารถที่จะเข้าใจได้ดังนี้


สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินกิจการ โดยไม่ผิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพราะกฎหมายกำหนดให้นำตัวบุคคลมาลงโทษไม่ใช่นำนิติบุคคลมาลงโทษ และเป็นโทษที่หนัก ไม่สามารถอ้างเหตุไม่รู้กฎหมาย บรรเทาโทษได้

เนื้อหาหลักสูตร

  • กรณีที่บริษัทใดกระทำผิด ให้ลงโทษบุคคลที่สั่งการ หรือกระทำความผิด ถึงขั้นจำคุก หรือถูกปรับ
  • ทำไมหัวหน้างานจึงมีสถานภาพเป็นนายจ้างด้วย
  • กิจการที่ใช้วิธีเหมาค่าแรง ก็เป็นนายจ้างด้วย
  • ความหมายของคำที่ใช้ในกฎหมายนี้เป็นอย่างไร เช่น ค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา การทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เป็นต้น
  • แม้นายจ้างได้ประโยชน์ตามกฎหมายนี้ ก็ห้ามตัดสิทธิลูกจ้างตามกฎหมายอื่น
  • ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินประกัน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ฯลฯ แม้มีเหตุผลต้องเสีย ดอกเบี้ย 15% ต่อปี หากจงใจไม่จ่าย เสียเงินเพิ่ม 15% ทุก 7 วัน
  • กฎหมายห้ามเรียกเก็บเงินประกันกรณีใด และกรณีใดเรียกเก็บเงินประกันได้ และประกาศกระทรวงเรื่องดังกล่าวมีอย่างไร
  • เปลี่ยนตัวนายจ้างได้ แต่เปลี่ยนสิทธิให้ลูกจ้างน้อยลงไม่ได้
  • เลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ามีกรณีใด และแก้ปัญหาอย่างไร
  • เงื่อนไขการบอกกล่าวล่วงหน้ามีอย่างไร
  • ถ้าไม่ระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง จะยกเหตุไม่จ่ายค่าจ้างไม่ได้
  • ชั่วโมงทำงานปกติของงานธรรมดา และงานอันตราย แตกต่างกันอย่างไร
  • ห้ามมีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม
  • ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ยกเว้นกรณีใด
  • นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้าง 8 ประเภทมาทำงานในวันหยุดได้ คืองานใดบ้าง
  • ก่อนทำงานล่วงเวลา จะต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อน
  • วันหยุดตามประเพณี 3 วัน ได้แก่วันใดบ้าง
  • ห้ามทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด ในงานอันตราย ห้ามทุกกรณีหรือไม่
  • ลูกจ้างลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง แต่ถ้าลามากนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้
  • ให้ลูกจ้างลาทำหมัน ต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่
  • ลากิจ สุดแต่ที่บังคับ หรือนายจ้างกำหนด ไม่ให้ก็ผิดกฎหมายใช่ไหม
  • ลารับราชการ ได้ค่าจ้างตามวันในหมายเรียกหรือตามวันที่ขอลา
  • ลาเพื่อคลอดบุตร มิใช่ลาก่อนคลอด / หลังคลอด ใช่หรือไม่
  • ลาเพื่อฝึกอบรมฯ จ่ายค่าจ้างหรือไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้ใช่ไหม
  • ห้ามลูกจ้างมีครรภ์ทำงานบางเวลา หรือติดไปกับยานพาหนะ ฝ่าฝืนหัวหน้างานถูกจำคุก 6 เดือน ปรับ 100,000 บาท
  • วันหยุดตามกฎหมายแรงงานมี 3 วัน วันใดบ้าง
  • ไม่ได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อน จะต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าทำงานในวันหยุดให้หรือไม่

ปัญหา เทคนิคและข้อควรระวังในการจ้างเหมาค่าแรง การรับเหมาช่วง การจ้างทำของและการจ้างแรงงาน

เรื่อง ของการว่าจ้างและการทำสัญญาจ้าง เป็นสิทธิและหน้าที่ของฝ่ายนายจ้างในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆ ทุกเรื่องที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายแรงงาน แต่ ในการจ้างงานบ้างครั้ง ก็เกิดปัญหาและความขัดแย้งขึ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ดังนั้นในการทำงานที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นายจ้างจำเป็นที่จะต้องทราบรายละเอียดต่างๆ ที่เป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย และสามารถนำมาใช้ในการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการจ้างงาน เพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นและเพิ่มความมีประสิทธิผลในการจ้างงาน

การอบรม ในหลักสูตรนี้ จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจรายละเอียดและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ้าง งาน ลักษณะการจ้างงานแบบต่างๆ และสามารถเลือกวิธีการจ้างงานที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด

บริษัท ทูพลัส เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด รหัสสถาบัน 40102
หลักสูตรนี้ได้ผ่านการเห็นชอบจากอธิบดีกรมพัฒนาการค้าธุรกิจ
สามารถนับเป็นชั่วโมงในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพการบัญชีได้
รหัสหลักสูตร 40102490019 การนับชั่วโมงอื่นๆ 6.00 ชม. รวม 6.00 ชม.


ผลที่ได้จากการอบรม

  • เข้า ใจความหมายของคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน เช่น การจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง ผู้รับเหมาชั้นต้น ผู้รับเหมาช่วง การจ้างทำของ การจ้างแรงงาน การจ้างเหมาบริการ เป็นต้น
  • ทราบความแตกต่างระหว่างการจ้างงานและสัญญาการจ้างงานแต่ละประเภท
  • เข้าใจหลักในการทำสัญญาจ้างแรงงาน และปัจจัยที่ทำให้การจ้างทำของเปลี่ยนเป็นการจ้างงาน ซึ่งมีรายละเอียดความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
  • ทราบข้อดีของการทำสัญญาจ้างงานชั่วคราว และเงื่อนไขที่ทำให้ลูกจ้างชั่วคราวกลายเป็นลูกจ้างประจำ
  • ทราบข้อกำหนด เงื่อนไขที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่มีการทำผิดสัญญาจ้างงาน
  • สามารถเลือกวิธีการจ้างงานที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อกิจการ

เมื่อจบจากการอบรมแล้ว ท่านจะเข้าใจดังนี้

สามารถ เข้าใจความหมาย รายละเอียด และหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน สัญญาการจ้างงาน ปัจจัยต่างเกี่ยวข้องที่ทำให้การจ้างงานอีกประเภทหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีก ประเภทหนึ่ง เงื่อนไขในการจ้างงาน ความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นเมื่อมีการจ้างงาน จนสามารถเลือกวิธีการจ้างงานที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ

ระยะเวลาอบรม 1 วัน (6 ชม.)

เนื้อหาหลักสูตร

    1. ความหมายของการจ้างงานด้วยวิธีการเหมาค่าแรง
    2. ความรับผิดชอบของกิจการที่ใช้วิธีเหมาค่าแรง
    3. ความหมายของผู้รับเหมาชั้นต้น
    4. ความหมายของผู้รับเหมาช่วง
    5. ความรับผิดชอบของผู้รับเหมาชั้นต้น และผู้รับเหมาช่วง
    6. สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับเหมาชั้นต้น และผู้รับเหมาช่วง
    7. ความหมายของสัญญาจ้างแรงงานพิสดาร
      · เป็นสัญญาต่างตอบแทน (วันลา/วันหยุดต้องจ่ายและไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง)
      · เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (ตกลงด้วยวาจา หรือโดยปริยาย สัญญาจ้างสมบูรณ์)
    1. ความหมายของการจ้างทำของ หรือจ้างเหมาบริการ
    2. ความแตกต่างของการจ้างงาน กับการจ้างทำของ
    3. ความแตกต่างของการจ้างเหมาค่าแรง กับการจ้างเหมาบริการ
    4. ความรับผิดชอบของนายจ้าง ผู้จ้างเหมาค่าแรง ผู้รับเหมาชั้นต้น และผู้รับเหมาช่วง
    5. ลักษณะการจ้างที่เข้าข่ายการจ้างแรงงาน และจ้างเหมาค่าแรง
    6. ลักษณะการจ้างที่เข้าข่ายการจ้างทำของ และจ้างเหมาบริการ
    7. ความหมายของสัญญาจ้าง
    8. ความแตกต่างของสัญญาจ้างชั่วคราว กับจ้างประจำ
    9. งานที่จ้างชั่วคราวโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จะต้องไม่มีการต่อสัญญา
    10. ลักษณะงานที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
      · ลักษณะงานโครงการที่มีใช้งานปกติของธุรกิจเป็นอย่างไร
      · ลักษณะงานครั้งคราวเป็นอย่างไร
      · ลักษณะงานตามฤดูกาลเป็นอย่างไร
    1. ข้อดีของสัญญาจ้างงานชั่วคราว 7 ประการ มีอะไรบ้าง
    2. เหตุใดที่นายจ้างเอางานประจำมาทำสัญญาเป็นช่วงๆ ได้
    3. เงื่อนไขใดที่ทำให้ลูกจ้างชั่วคราว กลายเป็นลูกจ้างประจำ
    4. หลักในการทำสัญญาจ้างแรงงาน
    5. ปัจจัยที่ทำให่การจ้างทำของกลายเป็นการจ้างแรงงาน
    6. ใช้วิธีการจ้างแบบใด จึงจะมีประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
    7. ถาม-ตอบ ปัญหาข้อข้องใจ

ค่าอบรม 3,500 บาท (ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

สถานที่ ศูนย์อบรมทูพลัส

เวลาอบรม 18:00 - 21:00 น.



สิ่งที่ท่านจะได้รับใน Package
เอกสารประกอบการอบรม (Training Manual)
ของสมนาคุณ ฟรี
อาหารกลางวัน อาหารว่าง และกาแฟ พร้อมของว่างตลอดการอบรม
ใบประกาศนียบัตรอย่างดี
ใช้ Internet ในการรับ-ส่ง Email ได้ระหว่างพักเรียน ฟรี
ได้รับส่วนลดพิเศษ 10% ในการอบรมในหลักสูตรอื่นๆ ในครั้งต่อไป
รับประกันคุณภาพ หากผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้วยังไม่เข้าใจสามารถเรียนทบทวนซ้ำได้

เทคนิคการใช้การเขียนข้อบังคับของบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ในแต่ละประเทศต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเอง เพื่อใช้ควบคุมดูแลประชาชน บริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดทุกแห่งที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเช่นเดียวกัน เปรียบเสมือนการมีรัฐธรรมนูญไว้ใช้ในการบริหารควบคุมทรัพยากรบุคคล ในทางกฎหมาย หากนายจ้างมิได้เขียนสิทธิในทางการบริหารจัดการให้ชัดแจ้ง ถือว่านายจ้างสละสิทธิ์ดังกล่าว

การอบรมหลักสูตรนี้ จะทำให้ท่านเกิดความรู้ในการเขียนและแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อใช้ในการควบคุมดูแลบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพ และสามารถบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมากที่สุด

ผลที่ได้จากการผ่านการอบรม

  • เข้าใจหลักการพื้นฐานในการจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยว กับการทำงาน เช่น ความสำคัญ การจัดทำ ภาษาที่ใช้ การประกาศบังคับใช้ การปิดประกาศ สถานที่ปิดประกาศ เป็นต้น
  • ทราบบทลงโทษที่กฎหมายกำหนด หากไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
  • เข้าใจวิธีการเขียน และแก้ไขเนื้อหาสาระของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นายจ้าง
  • ทราบรายละเอียดที่ควรระบุ หรือไม่ระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และผลบังคับใช้กับลูกจ้างที่มีอยู่ก่อนและลูกจ้างใหม่ เมื่อมีการแก้ไขข้อบังคับ ว่าแตกต่างกันอย่างไร
  • ยกตัวอย่างของคำพิพากษาฎีกา ที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับในการทำงาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ข้อบังคับเบื้องต้นก่อนการเรียน

ไม่มี แต่หากมีประสบการณ์ด้านการทำงานสนามจริงมาแล้ว จะทำให้ท่านเข้าใจและซาบซึ่งกับหลักสูตรนี้มากยิ่งขึ้น

ระยะเวลาอบรม

1 วัน

เมื่อจบการอบรมนี้แล้ว สามารถที่จะเข้าใจได้ดังนี้

สามารถจัดทำข้อกำหนด แก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลบังคับใช้ โดยไม่ถือว่านายจ้างสละสิทธิ์อันพึงมี

เนื้อหาหลักสูตร

  • เมื่อไรที่นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
    • ความสำคัญ
    • การจัดทำ
    • ภาษา
    • การประกาศใช้บังคับ
    • การปิดประกาศ
    • สถานที่ปิดประกาศ
    • วิธีการส่งสำเนาให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่ได้ประโยชน์
  • ถ้าไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อาจถูกปรับและถูกจำคุกได้เพียงไร
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ควรเขียนและควรแก้ไขให้เกิดประโยชน์แก่นายจ้าง ควรจะมีสาระอย่างไรเกี่ยวกับ
    • วัน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
    • วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด
    • หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
    • วันลา และหลักเกณฑ์การหยุด
    • หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
    • วันลา และหลักเกณฑ์การลา
    • วินัยและโทษทางวินัย
    • การร้องทุกข์
    • การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
  • สิ่งที่ไม่ควรระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีอะไรบ้าง
  • สิ่งสำคัญที่จะต้องระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีเรื่องอะไรบ้าง
  • จะทำการแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ให้มีผลใช้กับลูกจ้างใหม ่ได้อย่างไร
  • จะทำการแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ให้มีผลใช้กับลูกจ้างเก่าที่เข้ามาอยู่ก่อน ได้อย่างไร
  • นายจ้างจะแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฝ่ายเดียว ที่เป็นโทษต่อลูกจ้างให้มีผลบังคับได้โดยชอบด้วยวิธีใด พร้อมยกคำพิพากษาฎีกาประกอบ
  • ข้อสงวนสิทธิของฝ่ายนายจ้างในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เหตุใดจึงทำมิได้
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ประกาศแล้วต้องใช้บังคับนานเท่าไร
  • ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับข้อบังคับในการทำงาน

ค่าอบรม 3,500 บาท (ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

สถานที่อบรม ศูนย์อบรมทูพลัส เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์

เวลาอบรม 09:00 - 17:00 น.


การใช้มาตรการทางวินัยในการจัดการปัญหาด้านแรงงาน

ใน ทุกกิจการ ย่อมมีพนักงานหรือลูกจ้างทำความผิดบ้างไม่มากก็น้อย โดยบริษัทจะต้องมีกฎระเบียบ ข้อบังคับทางวินัย และบทลงโทษกำหนดไว้ แต่ไม่ใช่จะนำวินัยมาลงโทษเพียงอย่างเดียว ต้องรู้จักนำมาตรการทางวินัยมาใช้ในทางบวกด้วย แต่ถ้าจะลงโทษก็ต้องมีการสอบสวนก่อน

ดัง นั้น เทคนิคการสอบสวน เทคนิคการรวบรวมพยานหลักฐาน เทคนิคการจัดทำรายงานการสอบสวน ขั้นตอนการใช้มาตรการในการลงโทษ จึงเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ เพราะหากได้รับมอบหมายให้ทำการสอบสวนเรื่องใด ก็จะทำได้ถูกต้องและรัดกุม มีการฟ้องร้องก็สามารถชนะคดีความ

ผลที่ได้จากการผ่านการอบรม

· เข้า ใจความหมาย หลักการ และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความหมายของวินัยพนักงาน ความหมายของการสอบสวน การจัดทำรายงานสอบสวน ประเภทของพยาน เหตุในการลดหย่อนโทษ เป็นต้น

· เข้าใจวิธีการในการใช้มาตรการทางวินัยเชิงสร้างสรรค์ โดยอาศัยหลักการระวัง ดูแล ป้องกัน และเยี่ยวยาแก้ไข

· ทราบ เทคนิคต่างๆ ในการใช้มาตรการทางวินัย เช่น เทคนิคการสอบสวนข้อเท็จจริง เทคนิคการสอบสวนที่ดี เทคนิคการเตรียมตัวสอบสวน เทคนิคการรวบรวมพยานหลักฐาน เป็นต้น

· เข้าใจขั้นตอนในการใช้มาตการในการลงโทษ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

· ยกตัวอย่างของคำพิพากษาที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย เพื่อนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการสวบสวน

ข้อบังคับเบื้องต้นก่อนการเรียน

ไม่มี แต่หากมีประสบการณ์ด้านทำงานสนามจริงมาแล้ว จะทำให้ท่านเข้าใจและซาบซึ่งกับหลักสูตรนี้มากยิ่งขึ้น

ระยะเวลาอบรม 1 วัน

เมื่อจบการอบรมนี้แล้ว สามารถที่จะเข้าใจได้ดังนี้

สามารถ นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการจัดการปัญหาด้านวินัย การสอบสวน มาตรการในการลงโทษ เพื่อความถูกต้องยุติธรรมและรัดกุมในการตัดสินวินัยในเชิงสร้างสรรค์ี

เนื้อหาหลักสูตร

· ความหมายของวินัยพนักงาน

· การใช้มาตรการทางวินัยเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการระวัง ดูแล ป้องกัน และเยีี่ยวยาแก้ไข

· ความหมายของการสอบสวน

· เทคนิคการสอบสวนข้อเท็จจริง

· ทำไมต้องสอบสวนข้อเท็จจริงผู้กล่าวหา ก่อนผู้ถูกกล่าวหา จึงจะได้ผลโดยแท้

· เทนนิคการสอบสวนที่ดี

· เทคนิคการเตรียมการสอบสวน

· การรวบรวมพยานหลักฐาน ก่อนไปสอบสวน / ระหว่างการสอบสวน และการรวบรวมพยานหลักฐาน

· ประเภทของพยาน ประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณี พยานบอกเล่า พยานผู้เชี่ยวชาญ พยานบุคคล พยานเอกสาร วัตถุพยาน

· การจัดทำรายงานการสอบสวน

· ขั้นตอนการใช้มาตรการในการลงโทษ

· ข้อบังคับ / ตัวบทกฎหมาย / คำพิพากษาฎีกา / ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง

· เหตุมีอยู่จริง ไม่ระบุในคำสั่ง นำมาอ้างใช้ต่อสู้คดีไม่ได้

· ไม่ต้องรอผลคดีอาญา สอบสวนเสร็จลงโทษได้โดยชอบ

· มิได้แจ้งข้อหาแต่ต้น แจ้งข้อหาเพิ่มได้

· ไม่กำหนดความผิดครั้งใด ลงโทษเท่าไรจะปลอดภัยกว่า

· ลงโทษต่างกันในความผิดเดียวกันได้

· ความประพฤติส่วนตัวไม่เหมาะสม เลิกจ้างได้

· หลักเกณฑ์การออกหนังสือเตือนมีอย่างไร

· ลักษณะคำเตือนที่รัดกุม ถูกต้อง มี 8 ประการ

· วิธีแจ้งคำเตือนเป็นหนังสือที่สมบูรณ์ 7 ประการ

· การเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน 5 ประการ

· เหตุลดหย่อนโทษ

· คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยที่ต้องให้ความสนใจ

· ทำผิดครั้งเดียว ลงโทษหลายสถานได้

· ลงชื่อทำงานล่วงเวลา แต่ไม่มาทำ ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้

· แม้มีใบรับรองแพทย์แสดง นายจ้างไม่เชื่อ เลิกจ้างได้

· อ้างเหตุไม่ตรงความผิด ศาลฎีกาให้เลิกจ้างได้

· ปล้ำลูกน้องนอกที่ทำงาน นอกเวลางาน ก็เลิกจ้างได้

· ทะเลาะวิวาท เลิกจ้างได้

· ต่อยหัวหน้านอกโรงงาน แต่เกี่ยวกับงานเลิกจ้างได้

· เลิกจ้างผู้บังคับบัญชา เพราะบกพร่องในการดูแลลูกน้องได้

· ลูกจ้างพูดจาข่มขู่ และไม่สุภาพต่อนายจ้าง เลิกจ้างได้

· ไม่ไว้วางใจลูกจ้าง ก็เลิกจ้างได้

· หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้

· ขาดงาน 2 วัน แม้มีเหตุผลอันสมควร ก็เลิกจ้างได้

· หลับในเวลางาน 2 ชั่วโมง เลิกจ้างได้

· ทำความผิดมานานเกิน 1 ปี นำเหตุดังกล่าวมาเลิกจ้างได้

· ทำงานไม่ได้มาตรฐาน ให้ปรับปรุงตัว ไม่น่าพอใจ เลิกจ้างได้

· เล่นการพนันนอกโรงงาน เลิกจ้างได้

· ลูกจ้างหยอกล้อซ้ำในเวลาทำงาน ถูกเลิกจ้างไม่ได้ค่าชดเชย

· ใช้เวลาทำงานมาขายของส่วนตัว เลิกจ้างได้

· ดื่มสุรามากจนรุ่งขึ้นมาทำงานไม่ได้ เลิกจ้างได้

· ไม่เข้าร่วมประชุมตามนายจ้างสั่ง เลิกจ้างได้

· มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน เลิกจ้างได้

· ลงเวลาทำงาน แต่ไม่ทำงาน เลิกจ้างได้

· ทำผิดระเบียบ แม้ไม่ร้ายแรง ก็เลิกจ้างได้

· รับเงินจ้างลูกค้า โดยมิได้เรียกร้อง ก็เลิกจ้างได้

· ทำเงินขาดบัญชีเล็กน้อย ก็เลิกจ้างได้

· สั่งให้ลูกจ้างไปทำงานที่หนึ่ง แต่กลับไปอีกที่หนึ่ง เลิกจ้างได้

· ลูกจ้างทำผิดอาญา ศาลให้รอการลงโทษ ก็เลิกจ้างได้

ค่าอบรม 3,500 บาท (ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

เวลาอบรม 09:00 น. - 17:00 น.

สถานที่อบรม ศูนย์อบรม ทูพลัส เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์